ตอนที่ 7 : รู้จักบุคคลสำคัญรอบข้างท่านเจ้าคุณ (ตอนที่ 5)
หลวงอุดรภัณฑ์พานิช (เต็ง โสภโณดร) เจ้าสัวห้างกิมเซ่งหลี

0

BEER STORIES

ฉบับที่ 2/2015 พฤษภาคม 2558

ฉบับที่ 2/2015 พฤษภาคม 2558

Download Button

นายบุญรอดได้ตัดสินใจลาออกจาก งานที่ห้างกิมเซ่งหลีภายหลังจากที่นาย อากรเต็งไปเมืองจีน เพราะนายใหม่ที่มา ดูแลแทนไม่ค่อยจะแฟร์เท่าใดนัก ใช้งาน หนักขึ้นมากและไม่ยอมเพิ่มเงินเดือนให้ ครั้นนายอากรเต็งกลับมาไทยก็เสียใจยิ่งนัก ที่นายบุญรอดได้ลาออกไปแล้ว แต่เห็นแววว่าน่าจะทำธุรกิจไปได้ดี จึงเปิดโอกาสให้ นายบุญรอดเริ่มต้นด้วยการเอาไม้ของ ห้างกิมเซ่งหลีไปขาย ยังไม่ต้องจ่ายเงิน ขายได้เมื่อใดก็ค่อยเอาเงินมาคืน นับเป็น จุดเริ่มต้นของการทำธุรกิจส่วนตัวของ พระยาภิรมย์ภักดี หลวงอุดรภัณฑ์พานิช (เต็ง โสภโณดร) เป็นชาวจีนแต้จิ๋ว แซ่เตีย เดิมนั้นชื่ออูเต็ง เกิดที่เมืองจีนเมื่อปี พ.ศ. 2385 และอพยพ เข้ามาไทยตอนอายุได้ 18 ปี ในแผ่นดิน สมัยรัชกาลที่ 4 งานแรกคือรับจ้างเป็น จับกังพายเรือ เก็บเงินใช้หนี้ที่กู้ยืมมาใน

ตอนแรกเข้ามาไทยได้แล้ว ก็ไปหางานทำ ที่จังหวัดตากและต่อไปที่เชียงใหม่ ทำมา ค้าขายจนรวยขึ้น และได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้มีโอกาสพบบุคคลสำคัญมากขึ้น หนึ่ง ในผู้ที่นายเต็งคุ้นเคยด้วยคือพระนรินทร ราชเสนี ข้าหลวงในรัชกาลที่ 5 ประจำ เมืองเชียงใหม่ (ต่อมาเป็นเจ้าพระยารัตนา ธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยยันต์) ผู้ที่ทำให้นาย เต็งได้รับทำเรื่องภาษีอากร หลายคนจึง เรียกว่า “นายอากรเต็ง” นับตั้งแต่นั้นมา ต่อมาได้ขยายการค้าไปที่เมืองตากและ ได้พบรักและแต่งงานกับชาวเมืองตากชื่อ ก้อนทอง มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ กิ๊ หรือ จีนกิ๊ และที่ตากนี้ นายอากรเต็งได้เริ่มต้น กิจการห้างกิมเซ่งหลีกับนักธุรกิจตากอีก 2 คน คือ นายบุญเย็น (หลวงจิตรจำนง วานิช) และนายทองอยู่ (หลวงบริรักษ์ ประชากร) และได้กลับไปเปิดห้างเพิ่มขึ้น อีกที่เชียงใหม่ ต่อมาจึงได้ขยายสาขามา ที่กรุงเทพฯ แบ่งกันดูแลกิจการระหว่าง หุ้นส่วนโดยนายอากรเต็งย้ายไปอยู่ที่กรุงเทพฯ นายทองอยู่ อยู่ที่เชียงใหม่และนายบุญเย็นดูแลกิจการที่ตาก

[อ่านต่อได้ใน Singha Magazine: ฉบับที่ 2/2015 พฤษภาคม 2558]

 

Share.