ตอนแรกเข้ามาไทยได้แล้ว ก็ไปหางานทำ ที่จังหวัดตากและต่อไปที่เชียงใหม่ ทำมา ค้าขายจนรวยขึ้น และได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้มีโอกาสพบบุคคลสำคัญมากขึ้น หนึ่ง ในผู้ที่นายเต็งคุ้นเคยด้วยคือพระนรินทร ราชเสนี ข้าหลวงในรัชกาลที่ 5 ประจำ เมืองเชียงใหม่ (ต่อมาเป็นเจ้าพระยารัตนา ธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยยันต์) ผู้ที่ทำให้นาย เต็งได้รับทำเรื่องภาษีอากร หลายคนจึง เรียกว่า “นายอากรเต็ง” นับตั้งแต่นั้นมา ต่อมาได้ขยายการค้าไปที่เมืองตากและ ได้พบรักและแต่งงานกับชาวเมืองตากชื่อ ก้อนทอง มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ กิ๊ หรือ จีนกิ๊ และที่ตากนี้ นายอากรเต็งได้เริ่มต้น กิจการห้างกิมเซ่งหลีกับนักธุรกิจตากอีก 2 คน คือ นายบุญเย็น (หลวงจิตรจำนง วานิช) และนายทองอยู่ (หลวงบริรักษ์ ประชากร) และได้กลับไปเปิดห้างเพิ่มขึ้น อีกที่เชียงใหม่ ต่อมาจึงได้ขยายสาขามา ที่กรุงเทพฯ แบ่งกันดูแลกิจการระหว่าง หุ้นส่วนโดยนายอากรเต็งย้ายไปอยู่ที่กรุงเทพฯ นายทองอยู่ อยู่ที่เชียงใหม่และนายบุญเย็นดูแลกิจการที่ตาก
[อ่านต่อได้ใน Singha Magazine: ฉบับที่ 2/2015 พฤษภาคม 2558]