เดี๋ยวเจ๋ง เดี๋ยวเจ๊ง ครื้นเครงกันไป

0

ขอเล่าอันนี้ก่อน อันนี้เป็นบทสนทนาจริงๆ ของเราและเพื่อน ซึ่งไม่ได้ขออนุญาตว่าจะเอามาเขียน จึงจําเป็นต้องเปลี่ยนชื่อนิดนึง ให้เรียกว่าคุณ “จี๋ ยศสินา” คิดว่าน่าจะเดาไม่ถูกหรอกว่าเป็นนามแฝงของคุณจ๋า ยศสินี

ในความกะเทยอย่างเรา สิ่งแรกที่คิดคือเราจะช่วยเพื่อนเถียงผัวยังไงเพราะพื้นเพเรามันเป็นคนนิสัยขี้เอาชนะ แต่มานั่งคิดไปคิดมา เอ๊ะ ครั้งนี้คงต้องเห็นด้วยกับสามีเพื่อน

เราได้รับโอกาสให้ไปบรรยาย หรือแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานอยู่หลายครั้ง ซึ่งจุดหนึ่งก็ค่อนข้างสงสารผู้ฟัง เพราะกว่าจะได้เนื้อได้หนังได้ประโยชน์ก็ต้องทนฟังกะเทยพูดจาเรื่อยเจื้อยไปก่อนเสียนาน ไม่ต้องดูที่ไหนไกล ดูอย่างในบทความนี้ก็ได้ เพ้อเจ้ออะไรมาตั้ง 20 กว่าบรรทัดยังไม่ได้เข้า เรื่องเลย มันจะมีคําถามอยู่ 2-3 คําถามที่มักจะถูกถามอยู่แทบทุกครั้งเวลามี Q&A เป็นคําถามว่าด้วยเรื่องของวิธีการคิดงาน หรือแนวคิดเกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ ก็เลยลองรวบรวมมาถามเองตอบเองให้ได้อ่านกัน ข้อดีข้อหนึ่งคือตัวเราเองก็จะได้รวบรวมคําตอบเหล่านั้นให้เป็นลายลักษณ์อักษร เจอถามอีกครั้งก็จะได้อ่านตอบไปเลย ไม่ต้องคิดคําตอบใหม่ ถือเป็นวินวินทั้งคู่

ทั้งนี้ ออกตัวเอี๊ยดก่อนว่า มันก็เป็นวิธีหรือ สิ่งที่เราคิดเองเออเองจากประสบการณ์ทํางานที่มีทั้งถูกและผิด ผิดค่อนข้างจะเยอะกว่าถูก จริงๆ อาจจะ ไม่อาจจะหรอก มันมีวิธีที่ดีกว่า หรือถูกต้อง ถูกจริตกว่า เพราะฉะนั้น ก็ถือว่าที่มาเล่าให้ฟังเป็นอีก option นึงให้ไปเลือกใช้เอาละกันนะ

กลับไปที่ตรงสามีเพื่อนพูดช่วงต้นว่าโลกนี้ไม่มีอะไรใหม่แล้ว หลายคนอาจจะยกมือถามว่าแล้วหลอดไฟของเอดิสัน ยานอวกาศขององค์การนาซ่า รถยนต์ไฟฟ้าของอีลอน มัสก์ กระเป๋าเบาเบารุ่นใหม่ หรือแม้แต่อีโรคโควิด สายพันธุ์โอมิครอนนี่มันไม่ใหม่หรอ

ตําราเขาบอกว่าจริงๆ มันมีของมันมานานแล้ว เราแค่ไม่เคยค้นพบหรือรู้มาก่อนเท่านั้นเอง อันนั้นเราว่าก็ส่วนหนึ่ง

แต่อีกส่วนหนึ่งที่รู้สึกว่าน่าสนใจ คือหลายอย่าง เป็นสิ่งเก่ามากกว่า 1 อย่างที่มาผสมกันหรือมาวางเรียงกัน แล้วด้วยปฏิกิริยาบางอย่าง มันเลยกลายเป็นผสมเป็นสิ่งใหม่ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น เบียร์ที่กินกันมาเป็นพันๆ ปี กับโซจูเกาหลีที่ก็กินกันมาเป็นร้อยปีเช่นกัน พอเอาโซจูเหวี่ยงลงไปในแก้วเบียร์ ก็กลายเป็นของใหม่ คือ โซจูบอมบ์ที่ก็เพิ่งจะฮิตกันมาเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง

เป็นการยกตัวอย่างที่รู้เลยว่าคนเขียนเป็นคนขี้เมา

ฉันใดก็ฉันนั้น ในทางคอนเทนต์กับคําถามว่าคิดอะไรใหม่ได้ยังไง หลายครั้งการคิดของใหม่เราก็ใช้วิธีเอาของเก่าหลายๆ อันที่ไม่เคยอยู่ด้วยกันมาวางเรียงกันเท่านั้นเอง

จริงๆ แนวคิดเชิงโพสต์โมเดิร์นแบบนี้ก็มีมาก็นมนาน ตั้งแต่ที่ ANDY WARHOL เอากระป๋องซุปแคมป์เบลที่อยู่ในครัวมานมนานมาวาดใหม่ใส่สีใหม่ วางเรียงใหม่ ฮีก็ได้งานศิลปะคลาสสิกชิ้นใหม่ที่ตอนนี้ราคาก็คือหลายล้าน นึกแล้วก็อยากกลับไปวาดรูปกระป๋องนมข้นหวานที่แม่ผสมน้ำให้เรากินมาตั้งแต่เด็กเหลือเกิน

ตัวอย่างที่เราชอบในเชิงคอนเทนต์อันหนึ่ง ก็คือการละเล่น “จ๊ะเอ๋ ทายซิ ใครเอ่ย” ที่ผู้ใหญ่ชอบทํากับเราตั้งแต่เรายังแบเบาะ ซึ่งยังไม่เข้าใจเลยว่าผู้ใหญ่เค้าสนุกกับการละเล่นนี้ยังไง หวังให้เด็กพูดคําแรกจากเกมนี้หรอ แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น มีคนเอา “ทายซิ ใครเอ่ย” มาวางเรียงในรูปแบบของ TOURNAMENT กีฬามีกติกาการนับคะแนน การคัดคนแพ้คนชนะอย่างเป็นระบบ ของเก่า 2 อย่าง คือ “ทายซิใครเอ่ย” กับ “กติกาการแข่งขันกีฬา” รวมกันกลายเป็นของใหม่ คือรายการ “เกมทศกัณฐ์” อันลือลั่นอย่างยาวนานในยุคหนึ่ง เริ่ด

เราเคยได้โจทย์จากเจ้านายให้คิดรายการท่องเที่ยวรายการใหม่ โจทย์ที่เจ้านายให้มามีข้อเดียวเลย คือ ขอเป็นรายการท่องเที่ยวที่ “สนุก”

ไปดูรายการท่องเที่ยวเก่าๆ ที่มี ตอนแรกก็กะลอกแหละ แหะ แหะ แต่ดูแล้ว นึกไม่ออกหรอกว่าที่สนุก คืออะไร รู้แต่ว่าที่ “ไม่สนุก” เพราะมันไม่เห็นเหมือนเวลาที่เราไปเที่ยวกับเพื่อนกะเทยเราเลย ซึ่งไม่แคร์เลยว่าสิ่งปลูกสร้างมโหฬารตรงนั้นเค้าสร้างมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ทางเราสนใจโถงกลางบังกะโลที่มีพื้นที่มากพอให้เล่นไพ่และให้เอาผ้าปูที่นอนมาทําชุดราตรีเดินแบบกันตอนเมาแล้ว นั่นก็สนุกแล้ว

นี่ก็เลยเอาของ 3 อย่าง หนึ่งคือรายการท่องเที่ยว สองคือตลก สามคือกะเทย ซึ่งอยู่ในทีวีและในซอยบ้านมาตั้งแต่โบร่ำโบราณแต่ไม่เคยอยู่ด้วยกัน มาวางเรียงกัน ก็เลยเกิดเป็นของใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครทํามาก่อน ก็คือรายการเทยเที่ยวไทย ที่อยู่มาจนเป็นของเก่าไปแล้วในวันนี้

เพราะฉะนั้น บางทีเราเองก็ติดกับดักกับคําถามของเราเองว่า “อะไรคือของใหม่” ซึ่งหาให้ตายก็หาไม่ค่อยจะเจอ ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการปรับคําถามนิดเดียวจาก WHAT ให้เป็น HOW “ทําอย่างไรให้เป็นของใหม่” ง่ายกว่าเยอะค่ะ

คําถามคือ : ทําอย่างไรถึงจะคิดนอกกรอบได้คะ
คําตอบคือ : ไม่ต้องคิดนอกกรอบค่ะ อ้าว งงค่ะ ไม่เป็นไร เดี๋ยวค่อยอธิบายให้ฟัง

หลายคนพยายามอย่างยิ่งที่จะคิดนอกกรอบด้วยความเข้าใจว่ามันคือความใหม่ แปลก แตกต่าง และเป็นการสร้างอัตลักษณ์ให้ตัวเอง
ก่อนจะไปคิดนอกกรอบ อยากให้คิดถึงคํานี้ก่อน “อยู่นอกบ้าน” คําถาม “ก่อนจะอยู่นอกบ้าน เราต้องมีอะไรก่อน” เร็วๆๆ คิดๆๆๆ ตอบค่ะ

ถูกต้อง (ใครตอบวะ) ถ้าเราจะอยู่นอกบ้าน เราก็ต้องมี “บ้าน” ก่อน นึกออกมั้ยคะ

เวลาเราเดินอยู่ริมถนน เราถือว่าเราอยู่นอกบ้าน เพราะเรามีบ้าน แต่แค่ตอนนี้เราไม่ได้อยู่ในบ้าน

งงมั้ย กูงง

แต่ถ้าเราเดินนั่งนอนอยู่ริมถนน โดยที่เราไม่มีบ้าน เราไม่เรียกว่าอยู่นอกบ้านนะ

เราเรียก “จรจัด” ป่ะ เช่นกัน ถ้าต้องการจะออกนอกกรอบ มันแปลว่า เราก็ต้องมีกรอบก่อน

เหมือนที่เรารู้ว่าบ้านเรามีอะไร ไม่มีอะไร อะไรที่หาที่บ้านไม่ได้ หรือบ้านให้ไม่ได้ เราถึงไปหาจากนอกบ้าน ฉันใดก็ฉันนั้น เราเองต้องรู้ก่อนว่าในกรอบมันมีอะไรเป็นทรัพย์สินเป็นประโยชน์ หรือมีอะไรที่ควรโยนทิ้ง หรือไม่มีเลยจริงๆ ในกรอบนี้ อ่ะ ถึงเวลานั้น ค่อยไปหาเอานอกกรอบ

แต่หลายคนเลือกใช้ทางลัด ด้วยการไม่รู้ไม่เห็นไม่เอาและก็ไม่มีกรอบแม่งเลย จะเรียกว่าคิดนอกกรอบไม่ได้จริงๆ เรียกว่าเป็นคนจรทางความคิด ก็คืออีเหละเขละขละนะ

ทั้งนี้นี่มีคําถามหน่อย เวลาพูดถึงกรอบคุณจะนึกถึงรูปทรงอะไร

ถูกต้อง (ใครตอบอีก) สี่เหลี่ยม ใช่มะ

แต่จริงๆ ลองสังเกตกรอบรูปในบ้านของเราซิ เฮ้ย ทําไมมีหลากหลายทรง บางอันก็เป็นวงรี บางอันก็เป็นรูปดาว บางอันเป็นกลมๆ นั่นแปลว่ากรอบที่เราอยากจะออกกันนักหนา จริงๆ มันก็มีอิสระเสรี มีตัวเลือกที่หลากหลายให้เราได้สนุกอยู่ในกรอบนี่นา

ถึงพูดไปตอนต้นว่า ไม่ต้องออกหรอก เหนื่อย 555 เราจัดแต่งรูปทรงกรอบเราให้เป็นทรงต่างๆ น่ารักๆ ดีกว่า กรอบมันคือโจทย์อ่ะคุณ แล้วทุกงานมันก็ต้องตั้งต้นมาจากโจทย์อยู่แล้ว คนคิดเครื่องซักผ้ามันก็มาจากโจทย์ว่าขี้เกียจขยี้มือชิบเป๋ง คนคิดรายการทีวีเพราะ เออ เค้าจ้าง

ทีนี้ก็อยู่ที่ตัวของคุณว่าคุณจะมองโจทย์ว่าเป็น อุปสรรค หรือ ความท้าทาย ถ้าเป็นอย่างหลังก็อยู่ในกรอบรูปร่างแปลกตาหลากหลายอย่างเอ็นจอยได้เลย

คําถามคือ : ทําอย่างไรเวลารู้สึกว่าตัวเองหมดไฟ
คําตอบคือ : ปรายตาไปมองใบแจ้งหนี้ต่างๆ ค่ะ

ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ บิลบัตรเครดิต ค่าผ่อนคอนโด ผ่อนรถ หนี้กยศ. แป๊บเดียว เดี๋ยวไฟมา ขอบคุณค่ะ

คุณนิติ ชัยชิตาทร (ป๋อมแป๋ม)
พิธีกร ฝ่ายสร้างสรรค์รายการ จากรายการยอดฮิต เทยเที่ยวไทย และ ทอล์ก-กะ-เทยส์ และเป็นนักเขียน มีผลงานการเขียนเล่มแรก ชื่อ มะงุมมะงาหรา และปัจจุบันดํารงตําแหน่ง ผู้อํานวยการฝ่าย Content Production บริษัท จีเอ็มเอ็ม ทีวี จํากัด
Share.