ใครจะไปคิดว่าคนที่ว่ายน้ำระดับ “ปลาดาว” อย่างเรา ตอนนี้จะเป็น Divemaster Hi, Master ภาพหนังจีนก็ลอยมา เป็นจอมยุทธ์แล้ว???…Divemaster หรือ DM เป็นก้าวแรกสู่ระดับ Professional และเป็นตำแหน่งที่ต้องมีก่อนการเป็นครูผู้สอนดำน้ำ (Dive Instructor) ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยครูสอนในหลักสูตร Open Water, Advanced Open Water, Rescue Diver สามารถสอนบางหลักสูตรได้เอง เช่น Scuba Review และหลักสูตร Skin Diver
“First step to make my dream of floating weightlessly like an astronaut come true.”
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ติดอันดับต้นๆ ของโลกที่มีความงดงามทางทะเล และความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการัง สามารถดำน้ำได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากข้อได้เปรียบของภูมิประเทศที่ติดทะเล 2 ฝั่ง คือทะเลฝั่งอันดามัน และทะเลฝั่งอ่าวไทย อุณหภูมิน้ำอุ่นพอเหมาะ มีความเหมาะสมสำหรับการเรียน และการท่องเที่ยวดำน้ำ จึงขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่ผลิตนักดำน้ำมากเป็นอันดับ 1 ของโลก มากกว่า 100,000 คนต่อปี
กว่าจะถึงวันนี้ นั่งนึกย้อนกลับไป ตอนแรกก็แค่อยากเรียนดำน้ำ แล้วมาถึงขั้นนี้ได้ยังไง จุดเริ่มต้นของการเรียนดำน้ำลึก (Scuba Diving) เริ่มเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ค่าเรียน Open Water แค่หลักสูตรละไม่ถึงหมื่นบาท อยากแนะนำว่าตอนที่เลือกโรงเรียน ควรเลือกสถาบันที่ออกใบรับรอง ตอนนี้มีสถาบันมากมาย เช่น PADI, SSI, NAUI, NASDS, CUC, BSAC, CMAS, IDEA, PDIC, PSS เดี๋ยวนี้ยิ่งสะดวก พอสอบเสร็จ ก็รับบัตรออนไลน์ได้เลย เราเลือกสถาบัน PADI ที่ได้การรับรอง และเป็นที่ยอมรับทั่วโลก คอร์สเรียนดำน้ำระดับเริ่มต้น (Open Water) ในหลักสูตรเรียนภาคทฤษฎี 2 วัน เรียนจบทำข้อสอบแบบปรนัย เรียนภาคปฎิบัติในสระว่ายน้ำ 2 วัน จะมีการฝึกทักษะต่างๆ จากครูฝึกเพื่อเกิดความชำนาญ และความมั่นใจก่อนออกสอบภาคทะเลอีก 2 วัน (4 ไดฟ์) ส่วนใหญ่จะไปสอบที่แสมสาร เพราะไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ตอนนั้นไปเรียนคนเดียว ก็ไปเจอเพื่อนนักเรียนที่มาคนเดียวเหมือนกันหลายคนกลัว มีคำถามมากมาย ว่ายน้ำไม่เป็น ไม่มีเพื่อน จะมาเรียนได้มั้ย มาเรียนเถอะ ความกลัว..เอาชนะได้ด้วยความรู้ เรียนวิธีที่ถูกต้องและปลอดภัยต้องทำยังไง การดำน้ำสนุก แถมได้เพื่อนใหม่เพิ่มอีกด้วย
“Love at First Dive”
เพราะหลงรักการดำน้ำตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้เห็นสิ่งสวยงามแปลกตาของโลกใต้น้ำ เป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ความรู้สึกต่างจากการไปพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ การเฝ้ามองพฤติกรรมของสัตว์ทะเล โลกใต้ทะเลเป็นสิ่งแปลกใหม่ สวยงาม ทำให้รู้สึกอิสระ มีความสุขที่ได้ว่ายน้ำไปพร้อมเต่าทะเล แอบมองกระเบนราหูว่ายน้ำโฉบไปมา ฉลามวาฬและฉลามหลายสายพันธุ์ที่ในปีที่ผ่านมาได้เข้ามาให้นักดำน้ำได้พบเจอบ่อยขึ้น แม้แต่สัตว์ทะเลตัวเล็กๆ ที่น่ามหัศจรรย์ อย่างเช่น นูดี้หลากสี หลายพันธุ์ ที่มีขนาดเล็กเท่าเม็ดทรายจนใหญ่เท่าฝ่ามือ เมื่อเรียนต่อในระดับสูงขึ้น ประสบการณ์มากขึ้นก็เริ่มหลงใหลการดำน้ำในเวลากลางคืน เราจะได้เห็นสัตว์ทะเลแปลกๆ ที่ออกหากิน และการดำสำรวจเรือจม ที่เรียกว่าเป็นประวัติศาสตร์ทางทะเล การออกทริปทำให้รู้จักเพื่อนนักดำน้ำใหม่ๆ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ จากวันแรกที่แค่อยากดำน้ำดูปลา จนถึงวันนี้ที่ตั้งใจว่าอยากจะเป็นคนแบ่งปันความสุข ความรัก ความหลงใหล สร้างแรงบันดาลใจ ให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยในการดำน้ำ และอยากถ่ายทอดประสบการณ์ดีๆ รวมถึงเป็นที่ปรึกษาให้แก่นักดำน้ำรุ่นใหม่ๆ ทำให้
PADI Divemaster
การไปสู่นักดำน้ำระดับโปรนั้น เริ่มจาก PADI Divemaster โดยจะต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไปผ่านหลักสูตร Open Water, Advanced Open Water, Rescue Diver มีหลักฐานการฝึก Emergency First Response ภายใน 24 เดือนที่ผ่านมา สามารถวางแผนจัดการ วางแผนสถานการณ์ฉุกเฉินได้ (Emergency Assistance Plan) และจะต้องผ่านการดำน้ำมาไม่ต่ำกว่า 40 ไดฟ์ ผ่านการตรวจร่างกายโดยแพทย์ไม่เกินระยะเวลา 12 เดือน และผ่านการทดสอบความรู้ภาคทฤษฎี ซึ่งจะเรียนในหลายหัวข้อ เช่น บทบาท หน้าที่ สิทธิประโยชน์ของไดฟ์มาสเตอร์ (The role and characteristics of the PADI Divemaster), ความรู้ทางฟิสิกส์ (Physics of Diving), ความรู้ทางกายภาพ (Physiology of Diving), ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ดำน้ำ (Dive Equipment), ความรู้เกี่ยวกับความกดดัน และการลดความกดดัน (Decompression theory and the RD) และการปฏิบัติจริงในทะเลในหัวข้อ Dive Master Conducted Program, การแก้ไขปัญหาต่างๆ (Risk Management) และ ธุรกิจดำน้ำ (Business of Diving)
การเรียนก็เหมือนหลักสูตรอื่นๆ ของ PADI นั่นแหละ เพียงแต่จะเรียนและฝึกเยอะกว่าใช้เวลาเรียนมากกว่า ตอนที่ฝึกจะเรียกกันว่า Divemaster Trainee (DMT) หรือเรียกอีกอย่างว่าผู้ช่วยครูสอนดำน้ำ (Instructors Assistance) ในระหว่างการฝึก จะเป็นผู้ช่วยครูสอนดำน้ำ สาธิตทักษะการดำน้ำทั้ง 20 ทักษะ รู้วิธีจัดการ คอยดูแลอุปกรณ์ ให้คำแนะนำ และที่สำคัญคือเป็นแบบอย่างที่ดี (Role Model)ให้นักดำน้ำท่านอื่น
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ติดอันดับต้นๆ ของโลกที่มีความงดงามทางทะเล และความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการัง สามารถดำน้ำได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากข้อได้เปรียบของภูมิประเทศที่ติดทะเล 2 ฝั่ง คือทะเลฝั่งอันดามัน และทะเลฝั่งอ่าวไทย อุณหภูมิน้ำอุ่นพอเหมาะ มีความเหมาะสมสำหรับการเรียน และการท่องเที่ยวดำน้ำ จึงขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่ผลิตนักดำน้ำมากเป็นอันดับ 1 ของโลก มากกว่า 100,000 คนต่อปี
อยากดำน้ำ…ต้องเริ่มด้วย Open Water กว่าจะถึงวันนี้ นั่งนึกย้อนกลับไป ตอนแรกก็แค่อยากเรียนดำน้ำ แล้วมาถึงขั้นนี้ได้ยังไงจุดเริ่มต้นของการเรียนดำน้ำลึก (Scuba Diving) เริ่มเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ค่าเรียน Open Water แค่หลักสูตรละไม่ถึงหมื่นบาท อยากแนะนำว่าตอนที่เลือกโรงเรียน ควรเลือกสถาบันที่ออกใบรับรอง ตอนนี้มีสถาบันมากมาย เช่น PADI, SSI, NAUI, NASDS, CUC, BSAC, CMAS, IDEA, PDIC, PSS
เดี๋ยวนี้ยิ่งสะดวก พอสอบเสร็จ ก็รับบัตรออนไลน์ได้เลย เราเลือกสถาบัน PADI ที่ได้การรับรอง และเป็นที่ยอมรับทั่วโลก คอร์สเรียนดำน้ำระดับเริ่มต้น (Open Water) ในหลักสูตรเรียนภาคทฤษฎี 2 วัน เรียนจบทำข้อสอบแบบปรนัย เรียนภาคปฎิบัติในสระว่ายน้ำ 2 วัน จะมีการฝึกทักษะต่างๆ จากครูฝึกเพื่อเกิดความชำนาญ และความมั่นใจก่อนออกสอบภาคทะเลอีก 2 วัน (4 ไดฟ์) ส่วนใหญ่จะไปสอบที่แสมสาร เพราะ
ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ตอนนั้นไปเรียนคนเดียว ก็ไปเจอเพื่อนนักเรียนที่มาคนเดียวเหมือนกันหลายคนกลัว มีคำถามมากมาย ว่ายน้ำไม่เป็น ไม่มีเพื่อน จะมาเรียนได้มั้ย มาเรียนเถอะ ความกลัว..เอาชนะได้ด้วยความรู้ เรียนวิธีที่ถูกต้องและปลอดภัยต้องทำยังไง การดำน้ำสนุก แถมได้เพื่อนใหม่เพิ่มอีกด้วย
“Love at First Dive”
เพราะหลงรักการดำน้ำตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้เห็นสิ่งสวยงามแปลกตาของโลกใต้น้ำ เป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ความรู้สึกต่างจากการไปพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ การเฝ้ามองพฤติกรรมของสัตว์ทะเล โลกใต้ทะเลเป็นสิ่งแปลกใหม่ สวยงาม ทำให้รู้สึกอิสระ มีความสุขที่ได้ว่ายน้ำไปพร้อมเต่าทะเล แอบมองกระเบนราหูว่ายน้ำโฉบไปมา ฉลามวาฬและฉลามหลายสายพันธุ์ที่ในปีที่ผ่านมาได้เข้ามาให้นักดำน้ำได้พบเจอบ่อยขึ้น แม้แต่สัตว์ทะเลตัวเล็กๆ ที่น่ามหัศจรรย์ อย่างเช่น นูดี้หลากสี หลายพันธุ์ ที่มีขนาดเล็กเท่าเม็ดทรายจนใหญ่เท่าฝ่ามือ เมื่อเรียนต่อในระดับสูงขึ้น ประสบการณ์มากขึ้นก็เริ่มหลงใหลการดำน้ำในเวลากลางคืน เราจะได้เห็นสัตว์ทะเลแปลกๆ ที่ออกหากิน และการดำสำรวจเรือจม ที่เรียกว่าเป็นประวัติศาสตร์ทางทะเล การออกทริปทำให้รู้จักเพื่อนนักดำน้ำใหม่ๆ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ จากวันแรกที่แค่อยากดำน้ำดูปลา จนถึงวันนี้ที่ตั้งใจว่าอยากจะเป็นคนแบ่งปันความสุข ความรัก ความหลงใหล สร้างแรงบันดาลใจ ให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยในการดำน้ำ และอยากถ่ายทอดประสบการณ์ดีๆ รวมถึงเป็นที่ปรึกษาให้แก่นักดำน้ำรุ่นใหม่ๆ ทำให้
Gears & Equipment
นักดำน้ำมือใหม่สามารถเลือกซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็น บางอย่างสามารถเช่ากับโรงเรียนสอนดำน้ำ หรือร้านดำน้ำได้ แต่ในฐานะมืออาชีพด้านดำน้ำ จะต้องมีอุปกรณ์สกูบาพื้นฐานทั้งหมด รวมถึงคอมพิวเตอร์สำหรับดำน้ำ มีดสำหรับดำน้ำ และอุปกรณ์ส่งสัญญาณบนผิวน้ำอย่างน้อยสองชิ้นไว้สำหรับส่งสัญญาณเสียงและส่งสัญญาณไฟ
1. Air Cylinder หรือ Scuba Tank (ถังอากาศ)
เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในการดำน้ำลึก ทำมาจากสแตนเลสสตีล หรือเหล็ก บรรจุอากาศที่เอาไว้หายใจใต้น้ำ ถังอากาศมีหลายขนาด ซึ่งขนาดมาตรฐาน คือ 11.5 ลิตร โดยอากาศที่อัดลงในถังก็คืออากาศปกติที่เราใช้หายใจ หรืออากาศที่ส่วนผสมของออกซิเจนมากเป็นพิเศษ (Nitrox)
2. Dive Compass (เข็มทิศ)
เป็นอุปกรณ์เสริมที่ใช้เพื่อดูทิศทางใต้น้ำ เข็มทิศมีหลายแบบให้เลือก ซึ่งมีทั้งแบบใส่ข้อมูล และแบบที่ใช้ใส่กับข้อมือ หรือแบบแขวนห้อยกับ BCD หรือแบบที่ติดกับ Regulator
3. Mask (หน้ากากดำน้ำ)
เป็นอุปกรณ์ที่นักดำน้ำมักมีเป็นลำดับแรกๆ เพราะมีขนาดเล็กสามารถนำใส่ในกระเป๋าเดินทางได้ หน้ากากดำน้ำช่วยให้เราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ในน้ำ ป้องกันน้ำทะเลเข้าตาของเรา การเลือกหน้ากากดำน้ำให้เหมาะสม พอดีกับสรีระหน้าเรานั้นเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอย่างแรก ก่อนที่จะเลือกแบบตามสีสัน รูปทรงดีไซน์ที่ถูกใจ ซึ่งหน้ากากบางรุ่นก็ออกแบบมาเพื่อให้ใส่เลนส์สายตาได้อีกด้วย
4. Snorkel (ท่อช่วยหายใจ)
เป็นอุปกรณ์อีกชิ้น ที่ควรพกติดตัวไว้ทุกครั้งเวลาไปดำน้ำ แม้ว่าเราจะมี regulator และถังอากาศแล้ว แต่บางครั้งที่อากาศใกล้หมดที่ผิวน้ำ หรือ regulator มีปัญหา เราก็สามารถใช้ snorkel เพื่อช่วยเราในการหายใจที่ผิวน้ำได้อย่างสบายๆ
5. Fins (ตีนกบ)
เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญที่ใช้ในการดำน้ำ ซึ่ง Fin นั้นมีไว้ใช้เพื่อเป็นแรงส่งให้เราว่ายน้ำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น หลักการในการเลือกซื้อ Fin นั้นมีอยู่มากมาย โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือก Fin ได้แก่ น้ำหนัก ความยืดหยุ่น รวมไปถึงรูปทรงที่เข้ากับนักดำน้ำแต่ละคน
6. Regulator (อุปกรณ์สำหรับหายใจใต้น้ำ)
คือ สายส่งอากาศที่ต่อกับถังอากาศ เพื่อทำหน้าที่เปลี่ยนอากาศจากถังอากาศที่มีแรงดันสูง ให้เป็นความดันแบบพอเหมาะที่ไว้ให้นักดำน้ำหายใจ ซึ่งก็จะมีเส้นที่ใช้สำหรับไว้หายใจอยู่ 2 เส้น คือ เส้นหลัก
(Primary Regulator) กับเส้นรอง (Octopus หรือ Alternate Air Source) สามารถสลับใช้ได้หากตัวหลักมีปัญหา หรือสำหรับคนอื่นที่ต้องการความช่วยเหลือในยามฉุกเฉิน ควรเลือกแบรนด์ที่เชื่อถือได้ มีมาตรฐาน สามารถส่งตรวจเช็คเซอร์วิสได้ง่ายและรวดเร็วได้ในทุกๆ ที่ เพื่อการดำน้ำได้อย่างปลอดภัยและสนุกในทุกๆ ไดฟ์
7. BCD (Buoyancy Control Device)
คือ เสื้อชูชีพสำหรับนักดำน้ำ ที่สามารถเติมลมและปล่อยลมเข้าไปในเสื้อได้ตามต้องการ ทำให้เราลอยอยู่ใต้น้ำได้อย่าง
สมดุล โดย BCD จะมีสายต่ออากาศจากถัง และมีปุ่มปรับลมเข้าออก ถ้าต้องการดำลึกลงไปในน้ำก็ให้ปล่อยลมออก แต่ถ้าต้องการลอยตัวขึ้นก็สามารถเติมลมเข้าไปในเสื้อได้ ที่นิยมใช้มีอยู่ 2 แบบ คือ Jacket และ Wing
8. Weight Belt (เข็มขัดตะกั่ว)
หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าปกติแล้วคนเราจะไม่สามารถจมลงไปในน้ำได้ทั้งหมด ถึงแม้จะมีถังอากาศช่วยถ่วงไว้แล้วก็ตาม ดังนั้นจึงต้องมีอุปกรณ์เพื่อช่วยถ่วงให้นักดำน้ำจมลงไปในน้ำได้ นั่นก็คือ ก้อนตะกั่ว ซึ่งแบบที่นิยม คือ เอาก้อนตะกั่วมาร้อยเป็นเข็มขัดเรียกว่า เข็มขัดตะกั่ว โดยนักดำน้ำแต่ละคนก็จะใช้จำนวนของตะกั่วที่แตกต่างกัน ดังนั้นควรเลือกน้ำหนักให้พอเหมาะกับตัวเรามากที่สุด
9. Gloves, Hoods, Boots
(ถุงมือ, หมวก, รองเท้า) เป็นอุปกรณ์เสริม สำหรับเพิ่มความอบอุ่นให้ร่างกาย และใช้เพื่อปกป้องร่างกายไม่ให้มีบาดแผล สามารถเลือกตามความหนาที่ต้องการและไซส์ที่เหมาะสมกับสัดส่วนร่างกายของแต่ละคน
10. SMB – Surface Marker Buoy
ทุ่นลอยน้ำ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “sausage” อุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ ที่มือใหม่มักมองข้าม แต่มีประโยชน์เยอะมาก เช่น ไว้สำหรับบอกตำแหน่งนักดำน้ำ ใช้ในเหตุการณ์ฉุกเฉิน มีสีสันสดใส มีแถบสะท้อนแสง ช่วยเพิ่มการมองเห็นที่ชัดเจนขึ้น เติมอากาศได้ 2 วิธี ทั้งจากการเติมลมด้านล่าง และเติมจากวาล์วท่อ inflate มีดัมพ์วาล์วปล่อยอากาศ
11. Wetsuit (ชุดดำน้ำ)
ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับร่างกาย และป้องกันพิษจากสัตว์ทะเล เนื่องจากใต้น้ำจะมีอุณหภูมิต่ำกว่าผิวน้ำ ชุดดำน้ำช่วยป้องกันไม่ให้เราหนาวสั่นเมื่ออยู่ในน้ำนานๆ โดยชุดดำน้ำนั้นก็มีอยู่หลายแบบ Wetsuit คือชุดปกติที่นักดำน้ำใส่ลงน้ำแล้วเปียก ความหนาจะอยู่ที่ 2-7 มิลลิเมตร ที่นิยมใส่ดำน้ำในประเทศไทยคือ 2-3 มิลลิเมตร จะมีฉนวนที่ทำหน้าที่เก็บความร้อนในร่างกายไม่ให้ถ่ายเทสู่น้ำมากเกินไป เพื่อช่วยให้ไม่หนาวเมื่ออยู่ใต้น้ำ อุณภูมิที่ Wetsuit จะช่วยปกป้องได้อยู่ระหว่าง 10-30°C แต่ถ้าไปดำน้ำที่มีอุณหภูมิน้ำเย็นจัด เช่น ไปดำน้ำต่างประเทศที่มีอุณหภูมิน้ำอยู่ที่ประมาณ 1-5°C ทั่วไปแล้วนักดำน้ำจะเลือกใส่ Drysuit ซึ่งเป็นชุดที่ถูกออกแบบให้รองรับอุณหภูมิที่ต่ำมาก โดยสามารถรองรับได้ตั้งแต่ต่ำกว่า 18°C เป็นต้นไป เมื่อใส่ชุด Drysuit ลงน้ำแล้ว ตัวของนักดำน้ำจะไม่เปียกและช่วยให้ความอบอุ่น
12. Torch หรือ Dive Lights (ไฟฉาย)
สำหรับการดำน้ำ เป็นอุปกรณ์อีกชิ้นที่มีประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อคุณดำน้ำในน้ำที่ขุ่น หรือดำน้ำดูสิ่งมีชีวิตเล็กๆ และบางครั้งที่คุณอยากเห็นสีสันจริงของสัตว์ใต้ทะเล ไฟฉายจะช่วยทำให้คุณได้เห็นสีที่แท้จริงเมื่ออยู่ใต้น้ำ ทั้งยังเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้สำหรับการดำน้ำกลางคืน (Night Dive) ซึ่งทุกคนต้องมีไฟฉายติดตัวอย่างน้อยคนละ 1 อัน สำหรับการเลือกไฟฉายดำน้ำ แนะนำให้เลือกที่มีความสว่างพอสมควร ทำจากวัสดุคงทน เช่น aluminium, stainless
13. Dive Computer (คอมพิวเตอร์ดำน้ำ)
เป็นอุปกรณ์ประจำตัวนักดำน้ำที่มีขนาดเล็กพกพาสะดวก แนะนำว่าทุกคนจะต้องมีทุกครั้งในการดำน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยคำนวณเวลาใต้น้ำ และบอกรายละเอียดอื่นๆ ที่สำคัญเพื่อความปลอดภัย โดยบอกความลึก (Depth), เวลาจำกัดที่สามารถดำน้ำได้ที่ความลึกนั้นๆ (NDL), และอัตราความเร็วขณะขึ้นสู่ผิวน้ำ (Ascent Speed) ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ดำน้ำมีหลายรุ่น ยังเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานให้สามารถใช้ได้ใน
กิจกรรมอื่นๆ เช่น การดูแลสุขภาพ อัตราการเต้นของหัวใจ เป็นต้น มีดีไซน์ที่สวยงาม สามารถสวมใส่ในชีวิตประจำวัน
มลภัคน์ แสนดี
Operations Manager / BD
บริษัท ฟู้ด แฟคเตอร์ จำกัด